ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ

งานวันนี้

1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยี หมายถึง เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น เช่นโทรศัพท์,อินเทอร์เน็ต

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความรอบรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูล ความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ข้อมูลมาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล ดังนั้นถือได้ว่ายุคนี้เป็นยุคสารสนเทศ เช่นการฝาก ถอนเงินผ่านเครื่องATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่นการทำสำเนา เป็นการทำสำเนาข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ชนิดต่างๆ ให้มีหลายชุด เพื่อสะดวกต่อการเก็บรักษา และนำไปใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ทำสำเนา เช่นเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นบันทึก ฮาร์ดดิสต์ หรือCD-ROM

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใดๆที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริง และต่อเนื่อง ตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ

ฐานความรู้ หมายถึง เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้เป็นฐานในการตัดสินใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบผู้เชี่ยวชาญ 9)ระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน เป็นระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับการช่วยตัดสินใจ ซึ่งสามารถใช้ได้กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)ได้ทุกเรื่อง เช่น ระบบประมวลรายการที่เปลี่ยนแปลง(Transaction process systems) ระบบรายงานเพื่อการจัดการ(Management reporting systems)และระบบสำนักงาน (Office systems)

2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

1. ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ (transaction processing system)

2. ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน (operation control)

3. ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ (management control)

4. ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์

3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

1. ยุคการประมวลผลข้อมูล (data processing era) เป็นยุคแรก ๆ ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือเพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล ประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง

2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information system : MIS) เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการ ควบคุม ติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร

3. ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (information resource management system : IRMS) เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ

4. ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology era) ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ ๆ ของสินค้าและบริการ รวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ ตัวอย่าง ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) หรือระบบถอนเงิน หรือฝากเงินของธนาคาร โดยอัตโนมัติ เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบาย อย่างมากให้แก่ผู้ใช้ บริการธนาคาร

บทที่ 2

อุปกรณ์รับข้อมลเข้า (input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่

แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร เป็นต้น แป้นพิมพ์ถูกออกแบบให้ประกอบด้วยกลุ่มของคีย์ที่มีลักษณะต่างๆ คือ คีย์ตัวอักษร คีย์ตัวเลข คีย์ฟังก์ชั่น และคีย์ทั้งหมดมีถึง 101คีย์หรือมากกว่า

เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ โดยอาศัยการเลื่อนเมาส์จากการหมุนของลูกกลมที่อยู่ด้านล่างนอกจากนี้ยังใช้เมาส์สำหรับการวาดรูป การเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนย้าย ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว

แทร็กบอล (Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่ แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน โดยตัวแทร็กไม่ต้องเคลื่อนที่ จึงทำให้ใช้พื้นที่การทำงานน้อยกว่า นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop)

จอยสติก (Joy Stick) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลงซ้ายขวา เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้ หลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์นิยมใช้ในการเล่นเกมส์

เครื่องอ่านบาร์โค๊ต (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ (Bar Code) ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลขตามมาตรฐานการกำหนดรหัสจะใช้สำหรับข้อมูลที่แทนตัวเลข เช่น ราคาของสินค้าตามร้านขายสินค้าประเภทต่างๆ

สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป ข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือกราฟฟิก เครื่องสแกนมีหลายแบบตามความเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น แบบมือถือ แบบสอดกระดาษ แบบแท่น เป็นต้น

เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Reader: OCR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็คตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ ทำให้สะดวกในการรับข้อมูลจากเอกสารจำนวนมาก

เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์ เครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธนาคารและสถาบันการเงิน โดยใช้กับการอ่านเช็คเลขที่บัญชี หรือรหัสสาขา เป็นต้น

ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ มักใช้ในงานออกแบบ แต่การใช้สำหรับการเขียนอักขระ ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสัญญาณที่ได้รับจากการเขียนซึ่งทำได้ยากในการเปรียบเทียบค่าที่รับเข้ากับค่าที่กำหนดไว้

จอสัมผัส (Touch Screens) เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM (Automatic Teller Machines) และเครื่องที่ใช้ในร้านซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น

กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์CCD (Charge Coupled Device) แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพตามต้องการ ซึ่งสามารถพิมพ์ออกทางพริ้นเตอร์ได้

ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้การสื่อสาร โดยใช้เสียงคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีหน่วยที่ทำหน้าที่จดจำเสียง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของอุปกรณ์หรือชุดคำสั่ง (Voice Recognition Devices or Voice Recognition Software)ซึ่งทำให้สามารถสื่อสารหรือสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้

อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผลโดยมีส่วนสำคัญ2ส่วน คือ ส่วนควบคุม (Control Unit) และส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ(Arithmetic and Logic Unit) ซึ่งทำหน้าที่ ดังนี้

หน่วยควบคุม (Control Unit) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกอย่างรวมทั้งตัวเองด้วย ให้เป็นไปตามคำสั่ง เช่น ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลอ่านข้อมูลเข้าหรือให้หน่วยคำนวณ ทำการคำนวณ โดยคำสั่งนั้นจะได้รับจากหน่วยความจำและหน่วยควบคุมจะแปลความหมายแล้วส่งคำสั่งนั้นไปให้หน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายในส่วนควบคุมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ Address Word เป็นส่วนที่จะเก็บตำแหน่งของคำสั่งที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้CPUสามารถติดต่อกับคำสั่งเหล่านี้ได้ Instruction Word เป็นส่วนที่เก็บคำสั่งที่หน่วยควบคุมใช้ในการจัดการ ในชุดของชุดของคำสั่งนี้จะมีรายละเอียดที่กำหนดขั้นตอนและขอบเขต การทำงานของหน่วยควบคุมภายใต้ชุดสั่งนั้นๆ จะมีชุดของคำสั่งที่จะกำหนดรายละเอียดของการทำงานของส่วนอื่นต่อไป CPU ที่แตกต่างกันจะมี Instruction Set ที่แตกต่างกัน

หน่วยคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmatic and Logic Unit : ALU) มีหน้าที่สำหรับการคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ตลอดทั้งการเปรียบเทียบข้อมูล เช่น เท่ากับ ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่า รวมทั้งการประมวลอื่น ๆ ซึ่งจะกำหนด โดยคำสั่งจากหน่วยควบคุมภายในหน่วยคำนวณและเปรียบเทียบจะประกอบด้วยส่วนย่อยๆ เรียกว่าRegister ที่ทำหน้าที่เหมือนหน่วยความจำชั่วคราวที่เก็บค่าและข้อมูลต่าง ที่นำมาคำนวณหรือประมวลผล

อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลกการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้คือ

จอภาพ เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผล จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันจะเป็นจอสีทั้งหมด ส่วนจอขาวดำ ไม่มีให้เห็นแล้ว และส่วนมากจะเป็นจอแบบเพราะจอมีราคาสูง ส่วนเครื่องโน๊ตบุ๊คจะเป็นจอแบบโดยขนาดนี้นิยมใช้จะอยู่ที่นิ้ว จอรุ่นใหม่ๆ จะมีกระจกหน้าจอแบบราบ
การ์ดแสดงผล การ์ดแสดงผลหรือชื่องอย่างเป็นทางการคือทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของจอภาพ โดยข้อมูลที่จะแสดงจะถูกส่งจากซีพียูมายังการ์ดแสดงผล เพื่อประมวลผล ในจากดิจิตอลเป็นอนาล็อกแล้วส่งไปยังวงจรควบคุมสี (ของจอภาพ เพื่อให้ปรากฏเป็นภาพบนหน้าจอ

เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่มีคู่กับคอมพิวเตอร์มานานแล้วและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้โดยทั่วไปมีประการคือเป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมากในอดีต การพิมพ์จะใช้หัวพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นเข็มเรียงกันเป็นแถวในแนวตั้ง มีแบบ คือหัวเข็มและแบบหัวเข็ม อักษรที่ได้จะดูหยาบไม่ค่อยละเอียดเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถพิมพ์สีได้ด้วย ถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดอื่นๆ เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีคล้ายเครื่องถ่ายเอกสารคุณภาพและความเร็วในการพิมพ์ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม และแบบพ่นหมึก มีความคมชัดสูงแต่ราคาก็สูงเครื่องพิมพ์แบบพล็อตเตอร์เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้สำหรับการพิมพ์งานประเภทงานออกแบบ

การ์ดเสียง เป็นการ์ดที่ช่วยสนับสนุนและจัดการด้านเสียงของเครื่องพีซี และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นไฟล์เสียง สร้างเสียงดนตรี การบันทึกเสียงไปเป็นไฟล์แบบดิจิตอล ตลอดจนการเสียง การ์ดเสียงรุ่นใหม่จะเป็นแบบที่เสียบในสล็อตและมีคุณสมบัติซึ่งทำให้การติดตั้งง่ายขึ้นมาก
ลำโพง เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงเสียงเหมือนลำโพงเครื่องเสียง โดยจะทำการแปลงสัญญาณไฟฟ้า จากการ์ดเสียงให้ออกมาเป็นเสียงต่างๆ ดังนั้น คุณภาพเสียงที่ได้จึงไม่ได้ขึ้นอยู่ที่การ์ดเสียงเท่านั้น ต้องอาศัยการขับพลังเสียงของลำโพงด้วย ซึ่งลำโพงที่นิยมใช้กันทั่วไปจะเป็นลำโพงแบบตอบสนองเบสและเสียงแหลมที่ชัดเจนควรใช้ลำโพงแบบซัปวูฟเฟอร์จะให้เสียงเบสที่นุ่มนวลกว่าและแบบทวีตเตอร์ซึ่งจะให้เสียงแหลมที่ชัดเจน

บทที่ 3

ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกี่ส่วนคืออะไรบ้าง

ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ

1.ข้อมูล เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อบุคคลและองค์กร ข้อมูลแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้

1.1 ข้อมูลทั่วไป

1.2 ข้อความ

1.3 ภาพ

1.4 เสียง

1.5 Tactile Data

1.6 ข้อมูลจากเครื่องรับรู้ ได้จากเครื่องรับรู้ต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์

2. การจัดเก็บ เน้นการจัดข้อมูลให้อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกต่อการเรียกใช้งาน

3. เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล เครื่องมือที่ใช้ คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

4. การประมวลผล คือ การแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการนำมาใช้งาน

5. สารสนเทศ เป็นผลผลิตของระบบสารสนเทศที่มีคุณสมบัติถูกต้อง ตรงความต้องการ ทันเหตุการณ์ สมบูรณ์ครบถ้วน กะทัดรัด

ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล

ปัจจุบันนิยม 2แบบ คือ

1. การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ

เป็นวิธีการที่ใช้กับข้อมูลไม่มากนัก และจะนำอุปกรณ์มาใช้ในการเก็บข้อมูล, -การคำนวณ-และการคัดลอกข้อมูล ได้แก่ แฟ้ม ,เครื่องคิดเลข,ปากกา เป็นต้น

2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์

เป็นการประมวลผลข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนการทำงานสะดวก ถูกต้องรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เหมาะที่จะใช้เกี่ยวกับ งานการเงิน,สถิติ,และงานบัญชี เป็นต้น

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้ 3 วิธี ดังนี้

1. ขั้นเตรียมข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี

1.1 การลงรหัส

1.2 การตรวจสอบ

1.3 การจำแนก

1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ

2. ขั้นตอนการประมวลผล

คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น

2.1 การคำนวณ

2.2 การเรียงลำดับข้อมูล

2.3 การสรุป

2.4 การเปรียบเทียบ

3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์

เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์

บิท (Bit) คือค่าที่เล็กที่สุดที่คอมพิวเตอร์รู้จัก เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า และสัญญาณของกระแสไฟฟ้ามี 2 สภาวะ คือสภาวะที่วงจรมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกับวงจรที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน หรืออีกนัยหนึ่งคือ วงจรเปิดและวงจรปิดสภาวะเช่นนี้ถูกนำมาใช้เทียบกับระบบเลขฐาน 2 โดยมีเลข 0 คือวงจรปิด และเลข 1 คือวงจรเปิด สามารถตรวจสอบได้ง่าย ดังนั้นจึงนำเลขฐาน 2 มาใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยการสร้างชิป (Chip) ซึ่งเป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงต้องนำบิทมารวมเป็นกลุ่มเพื่อใช้สื่อความหมาย เช่นถ้าใช้ 2 บิท จะสื่อความหมายได้ 4 แบบ คือ 00,01,10,11 และถ้าใช้ 3 บิท จะสื่อความหมายได้ 8 แบบ

จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่

เครื่องคอมพิวเตอร์มองข้อมูลในลักษณะบิทและไบต์ ดังที่กล่าวมาแล้ว ในขณะที่ผู้ใช้งานมองข้อมูลในลักษณะโครงสร้างข้อมูลดังนี้

1. ตัวอักขระ(Character) หมายถึงสัญลักษณ์ต่างๆที่มนุษย์ใช้งาน ตัวอักขระหนึ่งตัวเมื่อนำไปเก็บในคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า 1 ไบท์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.1 ตัวเลข(Nuneric) คือ เลขฐาน 10 ซึ่งมีสัญลักษณ์ใช้ 10 ตัวคือ0,1,2,3,4,5,6,7,8,9

1.2 ตัวอักษร(Alphabetic) คือ ตัวอักษร A ถึง Z ตัวอีกษร a ถึง z

1.3 สัญลักษณ์พิเศษ(Special Symbol) คือ สัญลักษณ์ต่างๆเช่น เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ เครื่องหมายบวก(+) เครื่องหมายลบ(-) เครื่องหมายคูณ(*) เครื่องหมายหาร(/) และสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น #,$,? เป็นต้น

2.เขตข้อมูล(field)หรือ รายการ(Item) คือ การนำตัวอักขระประกอบกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นามสกุล อายุ เพศ เงินเดือนเป็นต้น

3.ระเบียน(Record) คือกลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น เรคคอร์ดของสินค้า

4.แฟ้มข้อมูล(File) คือ การนำเรคคอร์ดชนิดเดียวกันมารวมไว้ด้วยกัน เช่นแฟ้มข้อมูลสินค้าในการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจมีการใช้แฟ้มข้อมูลแฟ้มเดียวหรือหลายแฟ้มพร้อมกันได้ และสามารถแบ่งประเภทของแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้หลายประเภท แฟ้มข้อมูลที่ควรรู้จัก มีดังนี้

4.1 แฟ้มข้อมูลหลัก(Master file) คือ แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลถาวร โดยปกติแฟ้มข้อมูลหลักมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง

4.2 แฟ้มรายการ(Transaction file) คือ แฟ้มข้อมูลที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของแฟ้มข้อมูลหลัก เก็บเป็นรายย่อยๆ

บทที่ 4

สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง

1.2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบเพื่อ ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP

2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mile

ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล

ข้อดี
1. ราคาถูก
2.
มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3.
ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1.
ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2.
ระยะทางจำกัด

3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile

ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี
1.
ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2.
ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3.
ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1.
มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2.
ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3.
มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล

สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

1. ระบบไมโครเวฟ (Microwave System) กลไกของการสื่อสารและรับสัญญาณของไมโครเวฟใช้จานสะท้อนรูปพาลาโบลา เป็นระบบที่ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง และสัญญาณของไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรง ดังนั้นสถานีจะต้องพยายามอยู่ในที่สูงๆ สถานีหนึ่งๆ จะ ครอบคลุมพื้นที่ที่รับสัญญาณได้ 30-50 กม. ความเร็วในการส่งข้อมูล 200-300 Mbpsระยะทาง 20-30 mile และยังขึ้นอยู่กับความสูงของเสาสัญญาณด้วย

2. ระบบดาวเทียม (Satellite System) ใช้หลักการคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ในส่วนของการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานีต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ โดยอาศัยดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ขั้นตอนในการส่งสัญญาณมี ทั้งหมด 3 ขั้นตอนคือ
2.1
สถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียม เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-Link)
2.2
ดาวเทียมจะตรวจสอบตำแหน่งสถานีปลายทาง หากอยู่นอกเหนือขอบเขตสัญญาณจะส่งต่อไปยังดาวเทียมที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้น
2.3
หากยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมจะทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีลายทาง เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down-Link) อัตราเร็วในการส่ง 1-2 Mbps

ข้อดีและข้อเสียของระบบไมโครเวฟ

ข้อดี

1. ใช้ในพื้นที่ซึ่งการเดินสายกระทำได้ไม่สะดวก
2.
ราคาถูกกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม
3.
ติดตั้งง่ายกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม
4.
อัตราการส่งข้อมูลสูง

ข้อเสีย สัญญาณจะถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากธรรมชาติ เช่น พายุ หรือฟ้าผ่า

ข้อดีและข้อเสียของระบบดาวเทียม
ข้อดี
1. ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดของโลกได้
2.
ค่าใช้จ่ายในการให้บริการส่งข้อมูลของระบบดาวเทียมไม่ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ห่างกันของสถานีพื้นดิน
ข้อเสีย มีเวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ
3. ระบบอื่นๆ
3.1 ระบบวิทยุ (Radio Transmission) จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ จะมีปัญหากับการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่
3.2 ระบบอินฟราเรด (Infrared Transmission) ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control ของเครื่องรับโทรทัศน์ จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรง ระหว่างเครื่องรับ และเครื่องส่ง รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย
3.3 โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Transmission) จะอาศัยการส่งสัญญาณของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการส่งผ่านข้อมูล

3. PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย

PAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลาย

SAN เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้การจัดเก็บที่เก็บแบบนี้จึงต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อให้รองรับระบบดังกล่าว การทำงานนี้จึงคล้ายกับการสร้างเครือข่ายของที่เก็บข้อมูลแยกต่างหาก เป็นการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพได้ และสามารถใช้งานได้ดีกว่าแบบเดิม ด้วยเหตุผลที่แนวโน้มของการเก็บข้อมูลข่าวสารความรู้ในองค์กรมีมาก การดูแลฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อรองรับองค์กรในอนาคต SAN จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย มีความเชื่อถือได้ในระดับสูงกำลังจะกลายเป็นของคู่กันสำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ในอนาคตในบ้านเรา แต่สำหรับในต่างประเทศ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติ Storage Area Network หรือ SANเป็นระบบโครงสร้างที่มีการเชื่อมต่อทางข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำหน้า ที่จะช่วยให้สามารถจัดเก็บและดึงข้อมูลขนาดใหญ่ หรือปริมาณมหาศาล ออกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และง่ายต่อการบริหารจัดเก็บข้อมูล ระบบของ SAN ไม่ใช่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดเก็บข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่า SAN ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายแลน แต่อยู่ด้านหลังของเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ โดยทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บ และปลดปล่อยข้อมูลเพื่อสนองตอบกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งได้รับการร้องขอจากกลุ่มของไคลเอนต์บนเครือข่ายอีกทีหนึ่ง ดังนั้นSAN จึงไม่ใช่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่เป็นระบบบริหารการจัดเก็บและดูแลกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง โดยกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ มีการเชื่อมต่อกันทางด้านเครือข่ายก็จริง แต่ไม่ได้เชื่อมต่อผ่านทาง Switching Hub ธรรมดา แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบ Fiber Channel Hub หรือ Switch หรือ เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่กำลังจะมีมาในอนาคต

SAN สามารถให้ความยืดหยุ่นในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัดConfiguration ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความยืดหยุ่นสูงในการกำหนด ขนาดหรือลดขนาดการบรรจุเก็บข้อมูลข่าวสารของระบบเราสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์จัดเก็บได้เต็มที่ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SAN นอกจากนี้ภายใต้ระบบ SAN สามารถมีเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว หรือเป็นจำนวนมาก ที่สามารถเข้ามา Access ใช้งานในกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ดูแลภายใต้ SAN ได้อย่างมีประสิทธิภาพ